วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การบริหารสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

 การบริหารสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยรพ.รร.จปร.

ENV.1 โครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม

โรงพยาบาลมีโครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นหลักประกันว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาอย่างได้ผล มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สะดวกสบาย และเป็นที่พึงพอใจ

(1) โครงสร้างกายภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวกมีความเหมาะสม ปลอดภัย

- เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัย(34)  (ENV.1.1)
- ที่ตั้งหน่วยบริการมีความเหมาะสม  สะดวกต่อการเข้าถึงและการส่งต่อ (GEN.6.1)
- พื้นที่ใช้สอยเพียงพอ จัดโครงสร้างภายในเหมาะสม (GEN.6.2)
- มีความสะอาด เป็นระเบียบ การถ่ายเทอากาศดี แสงสว่างและอุณหภูมิเหมาะสม (GEN.6.3)
- ปราศจากสิ่งรบกวนที่มีผลต่อการปฏิบัติ (GEN.6.3)
- สถานที่ตรวจ/รักษา/ให้คำปรึกษา เป็นสัดส่วนและมีความมิดชิดพ้นจากสายตา/การได้ยินโดยบุคคลอื่น (GEN.6.4)

(2) มีสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย (ENV.1.6)

- มีการจัดเตรียมโครงสร้างกายภาพเป็นพิเศษสำหรับเด็ก และผู้พิการ
- มีการติดอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย(35)
- มีการจัดสถานที่และสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขสบายของผู้ใช้บริการ(36)
- มีระบบการระบายอากาศที่ดี สามารถควบคุมการติดต่อของเชื้อโรคที่ใช้อากาศเป็นสื่อ และสามารถขจัดอากาศเสียหรือก๊าซที่เป็นอันตรายได้
- มีการจัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ
- มีการจัดสถานที่จอดรถเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

(3) มีระบบการสนับสนุนฉุกเฉินที่จำเป็น (ENV.1.7)

- เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน
- ก๊าซทางการแพทย์
- ตู้เย็นเก็บโลหิต
- ถังเก็บน้ำ

(4) มีระบบการสื่อสารและขนส่งที่สามารถใช้การได้ตลอดเวลา (ENV.1.8)

- ระบบเตือนภัย
- ระบบตามตัวเจ้าหน้าที่ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
- ระบบเรียกพยาบาล
- โทรศัพท์สายตรงสำหรับหน่วยงานที่จำเป็น
- เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างอาคาร ชั้น และหน่วยงานต่างๆ
- การขนส่งระหว่างชั้น (เช่น ลิฟท์ส่งของ บันไดเลื่อน ระบบท่อส่งของ)
- เครื่องโทรสาร

(5) มีระบบการจัดการเกี่ยวกับโครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ

- มีนโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้โครงสร้างกายภาพของโรงพยาบาลอย่างชัดเจน(37)  (ENV.1.2)
- มีระบบบริหารทรัพย์สินที่มีประสิทธิภาพ(38)  (ENV.1.3)
- มีแผนผังของโรงพยาบาลในสภาพปัจจุบันเพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ และเจ้าหน้าที่ทั้งในเวลาปกติและยามฉุกเฉิน (ENV.1.4)
- มีระบบบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ(39)  (ENV.1.5)
- มีระบบบริหารจัดการเพื่อดูแลความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า ถังแก๊ส ไอน้ำ สารเคมี วัตถุไวไฟ (ENV.1.9)
- มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับโครงสร้างกายภาพได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ (ENV.1.10)
- มีการประเมินและพัฒนาคุณภาพของการจัดการด้านโครงสร้างทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อม (ENV.1.11)

ENV.2 การกำจัดของเสีย

มีการกำจัดของเสียด้วยวิธีการที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และสิ่งแวดล้อม

(1) มีระบบการกำจัดของเสียที่มีประสิทธิภาพ

- การกำจัดของเสียสอดคล้องกับระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม (ENV.2.1)
- มีนโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกำจัดของเสีย(40)  (ENV.2.2)
- มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเคลื่อนย้ายและกำจัดของเสียอย่างถูกวิธี (ENV.2.3)
- มีการปฏิบัติตามนโยบายและวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้ (ENV.2.5)
- มีการประเมินและพัฒนาคุณภาพของการกำจัดของเสีย (ENV.2.6)

(2) มีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ (ENV.2.3)

- มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณน้ำทิ้งของโรงพยาบาล
- น้ำทิ้งทั้งหมด (ยกเว้นน้ำฝน) ต้องผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย
- มีการดูแลรักษาระบบโดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม
- มีการประสานงานอย่างดีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(41)
- มีการตรวจคุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วอย่างน้อยเดือนละครั้ง
- น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดในช่วงเวลาที่ระบบรับภาระมากที่สุดมีค่ามาตรฐานตาม ที่ราชการกำหนด(42)

(3) มีระบบและวิธีการกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ (ENV.2.3)

- มีภาชนะรองรับขยะที่เหมาะสม(43)  และเพียงพอ
- มีระบบ/อุปกรณ์ในการแยกรับ(44) /ขนย้าย/จัดที่พัก(45)  ขยะทั่วไป/ขยะติดเชื้อ/ขยะอันตราย(46)  ที่รัดกุม
- มีระบบในการกำจัดขยะติดเชื้อและขยะอันตรายอย่างเหมาะสม
- มีมาตรการในการลดการใช้วัสดุที่ทำลายสิ่งแวดล้อม, การนำขยะที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
- มีการตรวจสอบการกำจัดขยะติดเชื้อของผู้รับช่วง

ENV.3 การป้องกันอัคคีภัย

โรงพยาบาลได้รับการก่อสร้าง จัดเตรียมเครื่องมือ ดำเนินงาน และบำรุงรักษา เพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายจากอัคคีภั

(1) โรงพยาบาลมีโครงสร้างที่เอื้อต่อการป้องกันอันตรายและความเสียหายจากอัคคีภัย

- การก่อสร้างและต่อเติมอาคารเป็นไปตามข้อกำหนดของ พรบ.ควบคุมอาคารด้านการป้องกันอัคคีภัย (ENV.3.3)
- มีทางหนีไฟจากส่วนต่างๆ ของอาคารซึ่งสามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อเกิดอัคคีภัย(47)  (ENV.3.6)
- มีการแสดงวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอัคคีภัยและวิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้เห็นชัดเจน ทั่วทั้งโรงพยาบาล (ENV.3.7)

(2) มีนโยบายและผู้รับผิดชอบในการป้องกันอันตรายและความเสียหายจากอัคคีภัย

- มีนโยบายด้านการป้องกันอัคคีภัยของโรงพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งผู้บริหารสูงสุดรับรอง (ENV.3.1)
- มีผู้รับผิดชอบในการป้องกันอัคคีภัย(48)  (ENV.3.2)

(3) มีการตรวจสอบและปรับปรุงเพื่อป้องกันอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอ (ENV.3.4)

- มีการตรวจสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ ตามกำหนดเวลา และเมื่อมีการปรับปรุงดัดแปลงอาคาร
- มีการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอัคคีภัย และบันทึกหรือรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร
- มีการประเมินภาวะเสี่ยงจากอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอโดยผู้รับผิดชอบของโรงพยาบาล
- มีการลดปริมาณการเก็บวัสดุไวไฟให้เหลือน้อยที่สุด และเก็บในบริเวณที่กำหนด
- มีการตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่นำมาใช้ในโรงพยาบาล

(4) มีเครื่องมือและระบบป้องกันอัคคีภัยที่เหมาะสม (ENV.3.5)

-มีการจัดหาเครื่องมือดับเพลิงที่เหมาะสมและเพียงพอ เช่น เครื่องดับเพลิง ชุดผจญเพลิง ท่อน้ำต่อหัวสูบ ม้วนปากกระบอกฉีด ซึ่งมีแรงดันในท่อส่งน้ำไม่ต่ำกว่า 250 ปอนด์
-มีการติดตั้งเครื่องมือและวางระบบเกี่ยวกับอัคคีภัยไว้อย่างเหมาะสมตามประเภท ของอัคคีภัยอันอาจเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่  โดยให้ความสนใจต่อบริเวณที่มีอันตราย
- มีหลักฐานการทดสอบ/บำรุงรักษาเครื่องมือ  และระบบป้องกันอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอ โดยผู้มีความรู้ความสามารถ
- ไม่มีสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคต่อการนำเครื่องมือดับเพลิงไปใช้
- มีป้ายแสดงตำแหน่งของเครื่องดับเพลิงชัดเจน

(5)  มีการฝึกซ้อมวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอ (ENV.3.8)

- มีการซ้อมดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้สภาวะการณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งกลางวันและกลางคืน
- มีการฝึกซ้อมติดต่อ/ประสานงาน กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบด้านอัคคีภัยในพื้นที่ กรณีเกิดอัคคีภัย
- มีการประเมินผลการจัดซ้อม จัดทำรายงาน บันทึกรายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกซ้อมดับเพลิง
- เจ้าหน้าที่ทุกคนได้รับการฝึกอบรมแนวทางปฏิบัติด้านอัคคีภัยทุกปี รวมทั้งการแจ้งสัญญาณอัคคีภัย การใช้เครื่องมือดับเพลิง วิธีการ/เส้นทางเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และทราบว่าควรทำการเคลื่อนย้ายเมื่อใด อย่างไร

ENV.4 การจัดการด้านความปลอดภัย

มีการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่

(1) การจัดการทั่วไปด้านความปลอดภัย

- มีเอกสารนโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยภายในโรงพยาบาล (ENV.4.1)
- มีผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาลรับผิดชอบดำเนินการตามนโยบายด้านความปลอดภัย (ENV.4.2)
- มีการให้ความรู้ ฝึกอบรม แจ้งข่าวและคำเตือน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตระหนักถึงนโยบายและวิธีปฏิบัติด้านความปลอดภัย (ENV.4.5)
- มีการจัดทำรายงานประจำปีด้านความปลอดภัยเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง (ENV.4.6)

(2) มีการวางแผนและดำเนินงานด้านความปลอดภัยอย่างเหมาะสม (ENV.4.3)

- การค้นหาและประเมินภาวะเสี่ยงต่ออันตรายต่าง ๆ ในโรงพยาบาล  และบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
- มาตรการในการป้องกันและควบคุมภาวะเสี่ยง
- การตรวจตราหน่วยงานต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายอย่างสม่ำเสมอ
- ระบบรายงานเมื่อเกิดอุบัติเหตุ อันตราย ข้อขัดข้องต่างๆ  และการสอบสวนเมื่อจำเป็น
- ระบบการกระจายข่าวกิจกรรมความปลอดภัยและคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายต่างๆ
- การประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายด้านความปลอดภัย

(3) มีบริการอาชีวอนามัยให้เจ้าหน้าที่ (ENV.4.4)

- มีนโยบายในการตรวจสุขภาพก่อนบรรจุทำงาน การคัดกรองสุขภาพและเฝ้าระวังโรค การให้ภูมิคุ้มกันโรค เช่น หัดเยอรมัน, วัณโรค, ไวรัสตับอักเสบชนิด บี
- มีหลักประกันว่าเจ้าหน้าที่ที่สัมผัสกับผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกัน หรือไม่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบชนิด บี และโรคติดเชื้ออื่น ๆ
- มีนโยบายและมาตรการในการป้องกันอันตรายจากสารเคมี, จุลชีพ, กลไก และ ท่าทางในการทำงาน
- มีระบบเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อศึกษาแนวโน้มของปัญหาและกำหนดแนวทางป้องกัน


(34)  กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง เช่น  กฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) และฉบับที่ 47 (พ.ศ.2540) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ ลงวันที่ 21 พ.ย. 2534


(35)  อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ได้แก่ ราวจับตามทางเดิน, ที่จับและระบบสัญญาณฉุกเฉินในห้องน้ำ/ห้องสุขา, สัญญาณเรียกพยาบาล, ราวกั้นเตียงที่เหมาะกับความสูงของเตียง, สายคาดนิรภัยบนเก้าอี้เข็น/รถเลื่อน


(36)  ได้แก่ อุณหภูมิที่พอเหมาะ, แสงสว่างเพียงพอ, อุปกรณ์เพื่อความบันเทิง เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือ


(37)  นโยบายและวิธีปฏิบัติที่ควรมี: การใช้ที่ดิน อาคาร ทรัพย์สิน และการบำรุงรักษา, การรายงานข้อขัดข้องเกี่ยวกับโครงสร้างกายภาพที่เกิดขึ้นทั้งในเวลาทำการและนอกเวลาทำการปกติ, การระบายสิ่งต่างๆสู่อากาศ พื้นดิน และน้ำ, การกำจัดของเสีย, การประหยัดพลังงาน, การจัดหาวัสดุโดยคำนึงถึงการลดปริมาณขยะ/ของเหลือใช้


(38)  ได้แก่: มีทะเบียนทรัพย์สินของโรงพยาบาลที่เป็นปัจจุบัน, มีแนวทางการตัดสินใจเพื่อลงทุนหรือซ่อมบำรุงทรัพย์สินบนพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์, มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการลงทุนที่สำคัญ, มีระบบการควบคุมค่าใช้จ่ายการลงทุนทุกโครงการ, มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารและบำรุงรักษาทรัพย์สินของโรงพยาบาล


(39)  มีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้รับผิดชอบดูแลการบำรุงรักษาโครงสร้างกายภาพของโรงพยาบาล, มีแผนการบำรุงรักษาและจัดหาทดแทนเพื่อลดโอกาสเกิดความขัดข้องและความเสี่ยงเกี่ยวกับ โครงสร้างกายภาพของอาคาร รวมทั้งทางเท้า ถนน ไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร


(40)  นโยบายและวิธีปฏิบัติที่ควรมี: การแยกของเสียทั่วไปและของเสียที่มีการปนเปื้อน, การกำจัดวัตถุมีคมในภาชนะที่เหมาะสม, แนวทางปฏิบัติเมื่อได้รับบาดเจ็บจากเข็ม, การติดป้ายและกำจัดของเสียที่มีผลทำลายเนื้อเยื่อ หรือมีกัมมันตภาพรังสี, การขนย้ายของเสียที่ปนเปื้อนอย่างปลอดภัย รวมทั้งการใช้ถุงตามข้อตกลงใส่ของเสียที่ปนเปื้อน การสวมชุดป้องกัน การจัดให้มีสถานที่เก็บก่อนนำไปเผาหรือขนย้ายจากพื้นที่, การกำจัดของเสียพิเศษอื่นๆ, การทำความสะอาดพาหนะที่ใช้ขนส่งของเสีย


(41)   เช่น การลดทิ้งน้ำยาฆ่าเชื้อลงในระบบบำบัดน้ำเสีย, การตรวจสอบเครื่องดักไขมันของโครงครัว

(42)  ค่า BOD ไม่เกิน 20 mg/L, คลอรีนตกค้างอยู่ในระดับ 0.2-1 ppm, มี Coliform bacteria < 5000 mpn/100cc

(43)  ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด ไม่รั่วซึม ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย วางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

(44)  การแยกรับขยะได้แก่ การจัดภาชนะแยก, การใช้ถุง, การติดป้าย

(45)  ที่พักขยะควรป้องกันแมลง หรือการคุ้ยเขี่ยของสัตว์ได้

(46)  ขยะอันตรายได้แก่ ขยะที่มีผลต่อการทำลายเนื้อเยื่อ, หรือสารเคมีบำบัด, หรือมีสารกัมมันตภาพรังสี, ของมีคม

(47)  เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายควบคุมอาคาร, กว้างเพียงพอสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้, ไม่มีสิ่งกีดขวาง, ไม่มีการเก็บวัตถุไวไฟไว้ในบริเวณทางหนีไฟ, ห้องผู้ป่วยและประตูทางออกสู่ทางหนีไฟต้องเปิดได้ตลอดเวลา, มีป้ายทางออกหนีไฟแสดงไว้ชัดเจน, มีคำแนะนำรายละเอียดเรื่องการใช้ทางหนีไฟ


(48)  ผู้บริหารสูงสุดรับผิดชอบในการปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมอาคารเพื่อป้องกันอัคคีภัยในทุกๆ จุดของโรงพยาบาล, มีการแต่งตั้งผู้มีคุณวุฒิและประสบการณ์เป็นผู้รับผิดชอบด้านการป้องกันอัคคีภัย, มีระบบให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกคนตระหนักถึงความรับผิดชอบในการดูแลความปลอดภัย จากอัคคีภัยตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น