วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ความปลอดภัยและสิ่งอุปกรณ์ ( ENV)

หมอต๋อน
คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ความปลอดภัยและสิ่งอุปกรณ์  ( ENV)
                                ๒.๓.  พ.อ.อุดมพงศ์                         อติเวทิน                                 หัวหน้า
                                ๒.๓.  พ.ท.พรชัย                             มาลัยพวง                              กรรมการฯ
                                ๒.๓.๓  ..วิชัย                                  อินศิริ                                     กรรมการฯ
                                ๒.๓.๔  ร.อ.หญิงสุรดา                      รัตนวิเศษ                              กรรมการฯ           
๒.๓.  พ.ท.สุพจน์                            แหไธสงค์                             เลขาฯ
                                ๒.๓.  ร.ท.กิตติชัย                             ศรียงยศ                                 ผช.เลขาฯ
                                หน้าที่
                ๑.วางแผนและดำเนินการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม  และความปลอดภัย
๒.บริหารจัดการเครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็น ให้ได้มาตรฐาน และเพียงพอ เพื่อให้บริการผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
๓.วางแผนและดำเนินการบริหารจัดการด้านวัสดุและของเสียอันตราย, การจัดการกับภาวะฉุกเฉิน และความปลอดภัยจากอัคคีภัย
๔.วางแผนและดำเนินการบริหารจัดการให้โรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย และเอื้อต่อสุขภาพ เอื้อต่อกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ แ ละพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
                                                ๕.ประสานงานและเชื่อมโยงกับทีมนำด้านต่างๆ
                                                . ติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพ
๗.สรุปผลลัพธ์ และนำเสนอผลงานคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ความปลอดภัยและสิ่งอุปกรณ์

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การบริหารสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

 การบริหารสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยรพ.รร.จปร.

ENV.1 โครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม

โรงพยาบาลมีโครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นหลักประกันว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาอย่างได้ผล มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สะดวกสบาย และเป็นที่พึงพอใจ

(1) โครงสร้างกายภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวกมีความเหมาะสม ปลอดภัย

- เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความปลอดภัย(34)  (ENV.1.1)
- ที่ตั้งหน่วยบริการมีความเหมาะสม  สะดวกต่อการเข้าถึงและการส่งต่อ (GEN.6.1)
- พื้นที่ใช้สอยเพียงพอ จัดโครงสร้างภายในเหมาะสม (GEN.6.2)
- มีความสะอาด เป็นระเบียบ การถ่ายเทอากาศดี แสงสว่างและอุณหภูมิเหมาะสม (GEN.6.3)
- ปราศจากสิ่งรบกวนที่มีผลต่อการปฏิบัติ (GEN.6.3)
- สถานที่ตรวจ/รักษา/ให้คำปรึกษา เป็นสัดส่วนและมีความมิดชิดพ้นจากสายตา/การได้ยินโดยบุคคลอื่น (GEN.6.4)

(2) มีสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย (ENV.1.6)

- มีการจัดเตรียมโครงสร้างกายภาพเป็นพิเศษสำหรับเด็ก และผู้พิการ
- มีการติดอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย(35)
- มีการจัดสถานที่และสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขสบายของผู้ใช้บริการ(36)
- มีระบบการระบายอากาศที่ดี สามารถควบคุมการติดต่อของเชื้อโรคที่ใช้อากาศเป็นสื่อ และสามารถขจัดอากาศเสียหรือก๊าซที่เป็นอันตรายได้
- มีการจัดสถานที่จอดรถให้เพียงพอ
- มีการจัดสถานที่จอดรถเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

(3) มีระบบการสนับสนุนฉุกเฉินที่จำเป็น (ENV.1.7)

- เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน
- ก๊าซทางการแพทย์
- ตู้เย็นเก็บโลหิต
- ถังเก็บน้ำ

(4) มีระบบการสื่อสารและขนส่งที่สามารถใช้การได้ตลอดเวลา (ENV.1.8)

- ระบบเตือนภัย
- ระบบตามตัวเจ้าหน้าที่ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
- ระบบเรียกพยาบาล
- โทรศัพท์สายตรงสำหรับหน่วยงานที่จำเป็น
- เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างอาคาร ชั้น และหน่วยงานต่างๆ
- การขนส่งระหว่างชั้น (เช่น ลิฟท์ส่งของ บันไดเลื่อน ระบบท่อส่งของ)
- เครื่องโทรสาร

(5) มีระบบการจัดการเกี่ยวกับโครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ

- มีนโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้โครงสร้างกายภาพของโรงพยาบาลอย่างชัดเจน(37)  (ENV.1.2)
- มีระบบบริหารทรัพย์สินที่มีประสิทธิภาพ(38)  (ENV.1.3)
- มีแผนผังของโรงพยาบาลในสภาพปัจจุบันเพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ และเจ้าหน้าที่ทั้งในเวลาปกติและยามฉุกเฉิน (ENV.1.4)
- มีระบบบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ(39)  (ENV.1.5)
- มีระบบบริหารจัดการเพื่อดูแลความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า ถังแก๊ส ไอน้ำ สารเคมี วัตถุไวไฟ (ENV.1.9)
- มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับโครงสร้างกายภาพได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ (ENV.1.10)
- มีการประเมินและพัฒนาคุณภาพของการจัดการด้านโครงสร้างทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อม (ENV.1.11)

ENV.2 การกำจัดของเสีย

มีการกำจัดของเสียด้วยวิธีการที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และสิ่งแวดล้อม

(1) มีระบบการกำจัดของเสียที่มีประสิทธิภาพ

- การกำจัดของเสียสอดคล้องกับระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม (ENV.2.1)
- มีนโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกำจัดของเสีย(40)  (ENV.2.2)
- มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการเคลื่อนย้ายและกำจัดของเสียอย่างถูกวิธี (ENV.2.3)
- มีการปฏิบัติตามนโยบายและวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้ (ENV.2.5)
- มีการประเมินและพัฒนาคุณภาพของการกำจัดของเสีย (ENV.2.6)

(2) มีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ (ENV.2.3)

- มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณน้ำทิ้งของโรงพยาบาล
- น้ำทิ้งทั้งหมด (ยกเว้นน้ำฝน) ต้องผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย
- มีการดูแลรักษาระบบโดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม
- มีการประสานงานอย่างดีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(41)
- มีการตรวจคุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วอย่างน้อยเดือนละครั้ง
- น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดในช่วงเวลาที่ระบบรับภาระมากที่สุดมีค่ามาตรฐานตาม ที่ราชการกำหนด(42)

(3) มีระบบและวิธีการกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ (ENV.2.3)

- มีภาชนะรองรับขยะที่เหมาะสม(43)  และเพียงพอ
- มีระบบ/อุปกรณ์ในการแยกรับ(44) /ขนย้าย/จัดที่พัก(45)  ขยะทั่วไป/ขยะติดเชื้อ/ขยะอันตราย(46)  ที่รัดกุม
- มีระบบในการกำจัดขยะติดเชื้อและขยะอันตรายอย่างเหมาะสม
- มีมาตรการในการลดการใช้วัสดุที่ทำลายสิ่งแวดล้อม, การนำขยะที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
- มีการตรวจสอบการกำจัดขยะติดเชื้อของผู้รับช่วง

ENV.3 การป้องกันอัคคีภัย

โรงพยาบาลได้รับการก่อสร้าง จัดเตรียมเครื่องมือ ดำเนินงาน และบำรุงรักษา เพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายจากอัคคีภั

(1) โรงพยาบาลมีโครงสร้างที่เอื้อต่อการป้องกันอันตรายและความเสียหายจากอัคคีภัย

- การก่อสร้างและต่อเติมอาคารเป็นไปตามข้อกำหนดของ พรบ.ควบคุมอาคารด้านการป้องกันอัคคีภัย (ENV.3.3)
- มีทางหนีไฟจากส่วนต่างๆ ของอาคารซึ่งสามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อเกิดอัคคีภัย(47)  (ENV.3.6)
- มีการแสดงวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอัคคีภัยและวิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้เห็นชัดเจน ทั่วทั้งโรงพยาบาล (ENV.3.7)

(2) มีนโยบายและผู้รับผิดชอบในการป้องกันอันตรายและความเสียหายจากอัคคีภัย

- มีนโยบายด้านการป้องกันอัคคีภัยของโรงพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งผู้บริหารสูงสุดรับรอง (ENV.3.1)
- มีผู้รับผิดชอบในการป้องกันอัคคีภัย(48)  (ENV.3.2)

(3) มีการตรวจสอบและปรับปรุงเพื่อป้องกันอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอ (ENV.3.4)

- มีการตรวจสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ ตามกำหนดเวลา และเมื่อมีการปรับปรุงดัดแปลงอาคาร
- มีการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอัคคีภัย และบันทึกหรือรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร
- มีการประเมินภาวะเสี่ยงจากอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอโดยผู้รับผิดชอบของโรงพยาบาล
- มีการลดปริมาณการเก็บวัสดุไวไฟให้เหลือน้อยที่สุด และเก็บในบริเวณที่กำหนด
- มีการตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่นำมาใช้ในโรงพยาบาล

(4) มีเครื่องมือและระบบป้องกันอัคคีภัยที่เหมาะสม (ENV.3.5)

-มีการจัดหาเครื่องมือดับเพลิงที่เหมาะสมและเพียงพอ เช่น เครื่องดับเพลิง ชุดผจญเพลิง ท่อน้ำต่อหัวสูบ ม้วนปากกระบอกฉีด ซึ่งมีแรงดันในท่อส่งน้ำไม่ต่ำกว่า 250 ปอนด์
-มีการติดตั้งเครื่องมือและวางระบบเกี่ยวกับอัคคีภัยไว้อย่างเหมาะสมตามประเภท ของอัคคีภัยอันอาจเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่  โดยให้ความสนใจต่อบริเวณที่มีอันตราย
- มีหลักฐานการทดสอบ/บำรุงรักษาเครื่องมือ  และระบบป้องกันอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอ โดยผู้มีความรู้ความสามารถ
- ไม่มีสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคต่อการนำเครื่องมือดับเพลิงไปใช้
- มีป้ายแสดงตำแหน่งของเครื่องดับเพลิงชัดเจน

(5)  มีการฝึกซ้อมวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอ (ENV.3.8)

- มีการซ้อมดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้สภาวะการณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งกลางวันและกลางคืน
- มีการฝึกซ้อมติดต่อ/ประสานงาน กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบด้านอัคคีภัยในพื้นที่ กรณีเกิดอัคคีภัย
- มีการประเมินผลการจัดซ้อม จัดทำรายงาน บันทึกรายชื่อผู้เข้าร่วมฝึกซ้อมดับเพลิง
- เจ้าหน้าที่ทุกคนได้รับการฝึกอบรมแนวทางปฏิบัติด้านอัคคีภัยทุกปี รวมทั้งการแจ้งสัญญาณอัคคีภัย การใช้เครื่องมือดับเพลิง วิธีการ/เส้นทางเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และทราบว่าควรทำการเคลื่อนย้ายเมื่อใด อย่างไร

ENV.4 การจัดการด้านความปลอดภัย

มีการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่

(1) การจัดการทั่วไปด้านความปลอดภัย

- มีเอกสารนโยบายและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยภายในโรงพยาบาล (ENV.4.1)
- มีผู้บริหารระดับสูงของโรงพยาบาลรับผิดชอบดำเนินการตามนโยบายด้านความปลอดภัย (ENV.4.2)
- มีการให้ความรู้ ฝึกอบรม แจ้งข่าวและคำเตือน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตระหนักถึงนโยบายและวิธีปฏิบัติด้านความปลอดภัย (ENV.4.5)
- มีการจัดทำรายงานประจำปีด้านความปลอดภัยเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง (ENV.4.6)

(2) มีการวางแผนและดำเนินงานด้านความปลอดภัยอย่างเหมาะสม (ENV.4.3)

- การค้นหาและประเมินภาวะเสี่ยงต่ออันตรายต่าง ๆ ในโรงพยาบาล  และบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
- มาตรการในการป้องกันและควบคุมภาวะเสี่ยง
- การตรวจตราหน่วยงานต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่ออันตรายอย่างสม่ำเสมอ
- ระบบรายงานเมื่อเกิดอุบัติเหตุ อันตราย ข้อขัดข้องต่างๆ  และการสอบสวนเมื่อจำเป็น
- ระบบการกระจายข่าวกิจกรรมความปลอดภัยและคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายต่างๆ
- การประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายด้านความปลอดภัย

(3) มีบริการอาชีวอนามัยให้เจ้าหน้าที่ (ENV.4.4)

- มีนโยบายในการตรวจสุขภาพก่อนบรรจุทำงาน การคัดกรองสุขภาพและเฝ้าระวังโรค การให้ภูมิคุ้มกันโรค เช่น หัดเยอรมัน, วัณโรค, ไวรัสตับอักเสบชนิด บี
- มีหลักประกันว่าเจ้าหน้าที่ที่สัมผัสกับผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกัน หรือไม่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบชนิด บี และโรคติดเชื้ออื่น ๆ
- มีนโยบายและมาตรการในการป้องกันอันตรายจากสารเคมี, จุลชีพ, กลไก และ ท่าทางในการทำงาน
- มีระบบเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อศึกษาแนวโน้มของปัญหาและกำหนดแนวทางป้องกัน


(34)  กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง เช่น  กฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) และฉบับที่ 47 (พ.ศ.2540) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ ลงวันที่ 21 พ.ย. 2534


(35)  อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ได้แก่ ราวจับตามทางเดิน, ที่จับและระบบสัญญาณฉุกเฉินในห้องน้ำ/ห้องสุขา, สัญญาณเรียกพยาบาล, ราวกั้นเตียงที่เหมาะกับความสูงของเตียง, สายคาดนิรภัยบนเก้าอี้เข็น/รถเลื่อน


(36)  ได้แก่ อุณหภูมิที่พอเหมาะ, แสงสว่างเพียงพอ, อุปกรณ์เพื่อความบันเทิง เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือ


(37)  นโยบายและวิธีปฏิบัติที่ควรมี: การใช้ที่ดิน อาคาร ทรัพย์สิน และการบำรุงรักษา, การรายงานข้อขัดข้องเกี่ยวกับโครงสร้างกายภาพที่เกิดขึ้นทั้งในเวลาทำการและนอกเวลาทำการปกติ, การระบายสิ่งต่างๆสู่อากาศ พื้นดิน และน้ำ, การกำจัดของเสีย, การประหยัดพลังงาน, การจัดหาวัสดุโดยคำนึงถึงการลดปริมาณขยะ/ของเหลือใช้


(38)  ได้แก่: มีทะเบียนทรัพย์สินของโรงพยาบาลที่เป็นปัจจุบัน, มีแนวทางการตัดสินใจเพื่อลงทุนหรือซ่อมบำรุงทรัพย์สินบนพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์, มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการลงทุนที่สำคัญ, มีระบบการควบคุมค่าใช้จ่ายการลงทุนทุกโครงการ, มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารและบำรุงรักษาทรัพย์สินของโรงพยาบาล


(39)  มีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้รับผิดชอบดูแลการบำรุงรักษาโครงสร้างกายภาพของโรงพยาบาล, มีแผนการบำรุงรักษาและจัดหาทดแทนเพื่อลดโอกาสเกิดความขัดข้องและความเสี่ยงเกี่ยวกับ โครงสร้างกายภาพของอาคาร รวมทั้งทางเท้า ถนน ไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร


(40)  นโยบายและวิธีปฏิบัติที่ควรมี: การแยกของเสียทั่วไปและของเสียที่มีการปนเปื้อน, การกำจัดวัตถุมีคมในภาชนะที่เหมาะสม, แนวทางปฏิบัติเมื่อได้รับบาดเจ็บจากเข็ม, การติดป้ายและกำจัดของเสียที่มีผลทำลายเนื้อเยื่อ หรือมีกัมมันตภาพรังสี, การขนย้ายของเสียที่ปนเปื้อนอย่างปลอดภัย รวมทั้งการใช้ถุงตามข้อตกลงใส่ของเสียที่ปนเปื้อน การสวมชุดป้องกัน การจัดให้มีสถานที่เก็บก่อนนำไปเผาหรือขนย้ายจากพื้นที่, การกำจัดของเสียพิเศษอื่นๆ, การทำความสะอาดพาหนะที่ใช้ขนส่งของเสีย


(41)   เช่น การลดทิ้งน้ำยาฆ่าเชื้อลงในระบบบำบัดน้ำเสีย, การตรวจสอบเครื่องดักไขมันของโครงครัว

(42)  ค่า BOD ไม่เกิน 20 mg/L, คลอรีนตกค้างอยู่ในระดับ 0.2-1 ppm, มี Coliform bacteria < 5000 mpn/100cc

(43)  ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด ไม่รั่วซึม ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย วางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

(44)  การแยกรับขยะได้แก่ การจัดภาชนะแยก, การใช้ถุง, การติดป้าย

(45)  ที่พักขยะควรป้องกันแมลง หรือการคุ้ยเขี่ยของสัตว์ได้

(46)  ขยะอันตรายได้แก่ ขยะที่มีผลต่อการทำลายเนื้อเยื่อ, หรือสารเคมีบำบัด, หรือมีสารกัมมันตภาพรังสี, ของมีคม

(47)  เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายควบคุมอาคาร, กว้างเพียงพอสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้, ไม่มีสิ่งกีดขวาง, ไม่มีการเก็บวัตถุไวไฟไว้ในบริเวณทางหนีไฟ, ห้องผู้ป่วยและประตูทางออกสู่ทางหนีไฟต้องเปิดได้ตลอดเวลา, มีป้ายทางออกหนีไฟแสดงไว้ชัดเจน, มีคำแนะนำรายละเอียดเรื่องการใช้ทางหนีไฟ


(48)  ผู้บริหารสูงสุดรับผิดชอบในการปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมอาคารเพื่อป้องกันอัคคีภัยในทุกๆ จุดของโรงพยาบาล, มีการแต่งตั้งผู้มีคุณวุฒิและประสบการณ์เป็นผู้รับผิดชอบด้านการป้องกันอัคคีภัย, มีระบบให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกคนตระหนักถึงความรับผิดชอบในการดูแลความปลอดภัย จากอัคคีภัยตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง